ทริป 2 วัน ง่ายๆ ในชุมชนบ้านโปง จ.เชียงใหม่
วันที่ 2: เปิดกรุแหล่งท่องเที่ยว เรียนรู้วิถีชุมชนกับมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
วัดดอยพระแท่นผาหลวง - อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ - สวนป่าสมุนไพร - ศูนย์ไบโอดีเซล - ฟาร์มเห็ด
วันนี้เราจะไปเที่ยว ตะลุยด่านกิจกรรมหลักๆ ของชุมชนบ้านโปงกัน ซึ่งผู้ใหญ่บ้านบอกว่ากิจกรรมที่นี่มีเยอะจริงๆ อยากชวนให้อยู่ด้วยกันนานๆ แต่ด้วยเวลาที่จำกัดแบบนี้ ไม่เป็นไรจัดให้เลยค่ะ เดี๋ยวมาดูกันซิว่า 5 สถานีที่เราจะไปเที่ยวในชุมชนบ้านโปงที่ผู้ใหญ่บ้านจัดให้จะเป็นอย่างไร แต่ก่อนอื่นขอทานอาหารเที่ยงแสนอร่อยที่พี่สาวคนสวยทำเอาไว้ให้ก่อนแล้วกัน
สลัดผักสดและก๊วยเตี๋ยวบกเพื่อสุขภาพ ใช้เห็ดที่ชุมชนเพาะเองเป็นวัตถุดิบหลัก
อร่อย กรุบกรอบ ถึงกับต้องขอเบิ้ล 2 จาน
|
ขอซูมใกล้ๆ อีกนิด จะเห็นว่ามีพริกกะเหรี่ยงด้วยนะ เผ็ดถึงใจเชียว … ลำแต๊แต๊ เจ้า
|
ขณะที่ชาวคณะกำลังตั้งใจฟังตำนานท้องถิ่น
จุดนี้เป็นด้านหลังของโบสถ์ ซึ่งความแปลกคือวัดนี้เราไม่เข้าจากด้านหน้านะ แต่ต้องเข้าด้านหลังแทน
|
โดยเรื่องราวนี้พาเราย้อนเวลาไปสมัยพุทธกาล ครั้งพระพุทธเจ้าได้เดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ และได้นั่งประทับบนแท่นศิลาเพื่อฉันภัตตาหาร โดยทำนายว่าต่อไปในเบื้องหน้าบริเวณแท่นศิลาที่พระองค์ทรงประทับนี้จะเป็นนครใหญ่ และเมื่อเจ้าผู้ครองนครเสด็จมายังแท่นศิลานี้ เมื่อนั้นจะเป็นยุคทองของพุทธศาสนา ซึ่งเวลาต่อมาก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ด้วยเหตุวิบัติมีเทพเจ้าจำแลงมางัดแท่นศิลาที่พระพุทธเจ้าเคยมาประทับให้พลิกคว่ำลง เรื่องราวนี้ได้ร่ำลือถึงหูพระเจ้ากือนากษัตริย์ราชวงศ์มังราย ผู้ครองนครล้านนาไทยในสมัยนั้น พระองค์จึงเสด็จมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง และทรงพบว่ามีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไม่ปรากฏผู้สร้างประดิษฐานอยู่หลังแท่นศิลาที่พลิกคว่ำนี้ พระองค์จึงทรงมีพระราชศรัทธาร่วมกับราชวงศ์และข้าราชบริวารสร้างวิหารไม้สักถวายแด่พระพุทธรูปและสร้างรั้วเหล็กรอบพระแท่นศิลานั้น
องค์พระพุทธรูปจะประทับหันหลังให้ผู้เข้าไปกราบในพระวิหารอันเป็นปริศนาธรรม ตามที่เรารู้จักกันว่า
“ปิดทองหลังพระ”
ที่นี่มีความ unseen และแตกต่างจากวัดที่อื่น คือ องค์พระประธานที่หันหลังให้กับผู้ที่เดินทางมาสักการะ สามารถพูดได้เลยว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และมีเพียงที่เดียวในประเทศไทยก็ว่าได้
วัดนี้มีสถาปัตยกรรมแนวล้านนา รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างขอบประตู หน้าต่าง
กรมศิลปากรได้มีการเข้ามาบูรณะเป็นระยะ
|
"มอม" สัตว์หิมพานต์ที่มักถูกวางไว้ทางเข้าประตูโบสถ์หรือวิหาร
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อและความศรัทธา
|
แท่นศิลาที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน (นี่คือคว่ำแล้วนะ)
|
นอกจากบริเวณอุโบสถที่มีความน่าสนใจแล้ว ยังมีเจดีย์ที่สวยงามเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุอยู่ด้วย เราไม่รอช้าขอเดินขึ้นไปสำรวจซักหน่อย
พระเกศาธาตุอยู่บนยอดสุดของเจดีย์
|
บริเวณรอบเจดีย์มีการจัดวางอนุสาวรีย์ 12 นักษัตร บังเอิญว่าเกิดปีขาลพอดี ขอเก็บภาพสัญลักษณ์ปีเกิดไว้เป็นที่ระลึก เผื่อเป็นสิริมงคลในปี 2559 นี้ |
ตีมการปลูกสร้างจะเน้นการใช้กระจกสีเป็นหลัก ขอบอกเลยว่าช่างไทยมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงๆ แถมยังวิสัยทัศน์มากอีกต่างหาก ด้วยบริเวณนี้เป็นที่โปร่ง พอแสงแดดมากระทบกับตัวเจดีย์ และสิ่งปลูกสร้างโดยรอบแล้ว สวยสะดุดตามากๆ
ด้านบนยังทำให้เราเห็นวิวทิวเขาแดนเหนือได้อย่างชัดเจน
ภูเขาเขียวขจี แสดงถึงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ
|
ภายในเจดีย์ก็เปิดให้เข้าชมนะ
|
ขอภาพหมู่ซักภาพก่อนเปลี่ยนไปยังสถานีที่ 2
|
วิวของอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ แม้ว่าช่วงเวลานี้จะแล้งที่สุด แต่ยังเห็นถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่โดยรอบ
แค่ได้มองวิวทิวทัศน์ก็เพลินแล้ว
|
ลุงมัคคุเทศน์ คว้าต้นรางจืดที่มีทั่วไปในป่ามาอธิบายให้ฟังกัน ซึ่งพืชชนิดนี้เหมาะกับเกษตรกรมากๆ
เพราะ สรรพคุณช่วยชำระสารพิษที่อาจตกค้างตามผิวหนังจากการพ้นยาฆ่าแมลงได้นะ
|
ต่อมา อันนี้สิน่าสนใจ ที่เห็นนี่ไม่ใช่จอมปลวกในป่านะจ้ะ แต่เป็นที่อยู่ของผึ้ง!! หรือเรียกว่า “รังผึ้งชันโรง” มันเป็นผึ้งคนละสายพันธุ์กับที่เราเห็นตามต้นไม้นะ เรียกว่าผึ้งทั้งฝูงพร้อมใจหายางไม้มาทำรังกันเลยทีเดียว ซึ่งส่วนที่เราสามารถเอามาทำยาได้ก็คือ ท่อที่ผึ้งใช้เดินทางเข้าไปในรังใต้ดินของมันนั่นแหละ
รังใหญ่มากๆ ท่อนี้มีผึ้งอยู่ด้วยนะ
|
ลุงหยิบท่อมาให้ดูเป็นตัวอย่าง แถมบอกด้วยว่าในป่ามีอีกเยอะหนู
หึ! คิดไว้เลยว่าไม่ควรหลงป่าที่นี่ กลัวว่าจะผึ้งต่อยเอาน่ะสิ
|
ตัวอย่างน้ำมันที่ได้จากวัตถุดิบต่างๆ มาเต็ม
|
โชว์ถังกลั่นน้ำมันของชุมชนบ้านโปงหน่อย
|
และแล้วเวลาก็ล่วงเลยไปอย่างรวดเร็ว ถึงแล้วสถานีสุดท้ายของเรา “ฟาร์มเพาะเห็ด” มาถึงแล้วช่างมีความสุขเสียจริง เพราะเราเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ชอบทานเห็ดเหมือนกัน จะว่าเป็น เห็ดคิลเลอร์ ก็ว่าได้ เจ้าของฟาร์มเห็น 2 พี่น้อง ออกมาร่วมกันสาธิตตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมอาหารของเห็ดกันเลย ใครมีความสนใจอยากลองปลูกเห็ด มีเวลาว่างๆ ลองมาศึกษาดูได้นะ อย่าคิดว่าเห็นเป็นเหมือนรา อยู่ในที่ชื้นก็ขึ้นได้ บอกเลยว่าจากที่เห็นกับตามีขั้นตอนที่พิถีพิถันอยู่ไม่น้อย ทำเอาหวนนึกถึงวัยมัธยมปลายตอนนั่งเรียนชีวะ
เครื่องมือตัดแต่งพันธุกรรม พร้อมวิธีการเพาะเนื้อเยื่อของเห็ด
|
กว่าจะมาเป็นเห็ดให้เรากินได้ไม่ง่ายเลยน้า ที่นี่มีทั้งเห็ดภูฐาน เห็ดนางรมหลวง
เห็นแล้วน้ำลายพี่สอ อยากจิกินยำเห็ดสดซะเดี๋ยวนี้เลย
|
วันที่สองนี้ มันคือการมาเที่ยวกับคนในชุมชนจริงๆ มีมัคคุเทศก์รุ่นเก๋ามาคอยให้ความรู้ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยตลอดทั้งวันเลย เต็มอิ่มกับอาหารที่ทำจากวัตถุดิบในชุมชน คนในชุมชนน่ารัก มีความเป็นกันเองมากๆ วันนี้ได้รับรอยยิ้มและเติมความสุขให้กับเราชาวคณะอย่างมากมาย ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ ขอเก็บภาพกับเหล่าแกนนำชุมชนเป็นที่ระลึกซักหน่อย คราวหน้าหากมีโอกาส อยากมาเยี่ยมเยียนชุมชนที่นี้อีกซักครั้ง อย่างน้อยความวุ่นวายในเมืองหลวงของเราก็สามารถบรรเทาได้ด้วยความ slow life ในชุมชนบ้านโปงแห่งนี้
รวมๆ กันซะหน่อย ^^ |
:)